Pages

เที่ยวแล้วอย่าทอดทิ้ง แก่งหินงามสามพันโบก

สามพันโบก

สามพันโบก

สามพันโบก

สามพันโบก 

สามพันโบก

สามพันโบก

เที่ยวแล้วอย่าทอดทิ้ง แก่งหินงามสามพันโบก (ไทยโพสต์)
          บอก มาตลอดเวลาว่าของดีเมืองไทยมีมากมาย แต่ขึ้นอยู่กับว่าคนไทยจะมองเห็นหรือไม่ บ้านอื่นเมืองอื่นอาจต้องสร้างสิ่งมหัศจรรย์ขึ้นมา เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว แต่ของบ้านเมืองเราเป็นของแท้ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เพราะฉะนั้น อย่าเห็นค่าเมื่อสูญเสียสิ่งนั้นไปแล้ว เราควรดูแลตั้งแต่ต้นมือ นี่เป็นหนึ่งใน 7 ของแนวคิดเรื่อง 7 Greens ที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยวางแนวคิดไว้ให้คนไทย มีทั้งแหล่งท่องเที่ยวกันระยะยาว ได้ท่องเที่ยวแบบยั่งยืน รวมทั้งเป็นต้นทุนที่ดึงต่างชาติให้หลั่งไหลกันเข้ามา สรุปว่ามีเงินเข้ามา แต่ของดีเราก็ยังรักษาได้อยู่
          เอ่ยชื่อ สามพันโบก บางคนอาจไม่รู้จัก แต่ถ้าเอ่ยถึงจุดที่ เบิร์ด ธงไชย แมคอินไตย์ ไปถ่ายหนังโฆษณาชุด เที่ยวไทยครึกครื้นเศรษฐกิจไทยคึกคักละก็ ทุกคนร้องอ๋อทีเดียว แต่หลายคนไม่เชื่อว่าที่นี่แหละคือเมืองไทย
สามพันโบก

สามพันโบก

          สามพันโบก เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาตามธรรมชาติ ที่ใหญ่ที่สุดในลำน้ำโขงเท่าที่ทราบกันมา ซึ่งในบริเวณเดียวกัน มีสถานที่ที่ชาวบ้านเรียกว่า แกรนด์แคนยอนน้ำโขง อันเกิดจากการกัดเซาะของน้ำหลายพันปี เป็นร่องน้ำขนาดใหญ่ สูงประมาณ 3-7 เมตร กว้างประมาณ 20 เมตร
          แก่งหินสามพันโบก เป็นกลุ่มหินทรายแนวเทือกเขาภูพานตอนปลาย ที่ทอดตัวยาวริมฝั่งโขงไทยและลาว สายน้ำแคบและเป็นคุ้งน้ำ ณ เส้นรุ้งที่ N.15 องศา 47.472 ลิปดา และเส้นแวงที่ E.105 องศา 23.983 ลิปดา ริมฝั่งโขงบริเวณนี้ เป็นกลุ่มหินที่เรียงตัวทอดยาวเป็นสันดอนขนาดใหญ่ พื้นที่กว่า 30 ตารางกิโลเมตร ผาหินบริเวณโค้งด้านหน้ารับแรงน้ำที่ไหลจากตอนบน ก่อเกิดประติมากรรมธรรมชาติที่งดงาม
สามพันโบก

สามพันโบก

          จุดเด่นที่น่าสนใจคือ โบก อันเกิดจากกระแสน้ำได้พัดพาก้อนกรวด หิน ทราย และเศษไม้ กัดเซาะขัดแผ่นหินทรายให้เกิดเป็นหลุมแอ่ง มีขนาดเล็กๆ จนถึงขนาดใหญ่จำนวนมากมาย หินบางก้อนถูกกัดกร่อนคล้ายงานแกะสลักเป็นรูปสัตว์ รูปหัวใจ รูปมิกกี้เมาส์จากโบกจำนวนมากมาย จนสถานที่แห่งนี้ถูกขนานนามว่า สามพันโบก
          แก่งสามพันโบก เป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขงในช่วงฤดูน้ำหลาก ประมาณเดือนกรกฎาคม-เดือนตุลาคม และโผล่พ้นน้ำอวดความงามให้นักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชม ได้ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน-มิถุนายน ทุกปี

สามพันโบก

สามพันโบก

การเดินทางไป...สามพันโบก
          สามพันโบก อยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ 120 กม. ตามทางหลวงอุบลฯ-ตระการ-โพธิ์ไทร ทำได้ 2 ทางคือ เดินทางท่องเที่ยวทางเรือไปยัง แก่งสามพันโบก นิยมนั่งเรือจากหาดสลึงที่บ้านปากกะกลาง ต.สองคอน ล่องตามลำน้ำโขงระยะทาง 4 กิโลเมตร  ระหว่างทางจะผ่าน “ปากบ้อง” จุดแคบที่สุดของแม่น้ำโขง หาดสลึง หินหัวพะเนียง เป็นแก่งหินกลางแม่น้ำ ที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย หรือสองคอนในภาษาท้องถิ่น จึงเป็นที่มาของชื่อบ้านสองคอนและสามพันโบก ศิลาเลข หาดหงส์
สามพันโบก
สามพันโบก
รายละเอียดเส้นทางเที่ยวทางเรือ
          ปากบ้อง เป็นจุดชมวิวที่หมู่บ้านสองคอน ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจุดที่แม่น้ำโขงไหลพาดปะทะแนวเทือกเขาภูพานตอนปลาย การปะทะกันของพลังธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ ก่อให้เกิดภูมิประเทศที่มหัศจรรย์มากมาย ซึ่งจะสัมผัสได้ยามที่แม่น้ำโขงลดระดับลงได้ที่ ในยามฤดูแล้งราวเดือน พฤศจิกายน-มิถุนายน ตลอดระยะทางที่ไหลผ่านประเทศไทย ยาวกว่า 700 กิโลเมตร เป็นจุดที่แม่น้ำโขง แคบที่สุด "ปากบ้อง" เป็นหน้าผาหินที่เกิดจากรอยแยกตัวของแผ่นหินทรายเปลือกโลก ลักษณะเหมือนคอขวด ส่วนที่แคบที่สุดวัดได้ 56 เมตร
          หินหัวพะเนียง อยู่ในพื้นที่หมู่บ้านสองคอน ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทย จังหวัดอุบลราชธานี ลักษณะทางภูมิศาสตร์เป็นเกาะหินขนาดใหญ่กลางแม่น้ำโขง รูปร่างคล้ายอุปกรณ์ประกอบคันไถ อยู่ถัดจากบริเวณปากบ้องขึ้นไปทางเหนือประมาณ 500 เมตร  เกาะหินใหญ่โผล่ขวางกลางลำน้ำโขง หินหัวพะเนียง มีรูปร่างคล้ายใบไถไม้ (ในภาษาถิ่น พะเนียงคือแท่นไม้ที่ใช้สวมใบไถเหล็ก) ชาวบ้านจึงเรียกว่า หินหัวพะเนียง แต่ลักษณะหินในบริเวณนี้บางกลุ่มจะเป็นช่อแหลมคม ซึ่งเกิดจากการปะทุขึ้นมาของหินทรายร้อนคล้ายหินภูเขาไฟ แต่ไม่ใช่แมกมาหรือลาวา เมื่อปะทุขึ้นมาปะทะกับกระแสน้ำเย็น จึงแข็งตัวกลายเป็นหินที่มีลักษณะเป็นช่อ เรียกว่า "หินหัวพะเนียง" เป็นเกาะกลางแก่งหินกลางแม่น้ำที่ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสาย
สามพันโบก

สามพันโบก

          แก่งสองคอน เกิดจากการเกาะหินหัวพะเนียงกลางลำน้ำโขง ซึ่งเป็นเกาะหินขนาดใหญ่รูปลักษณ์แปลกตาที่ขนาบข้างด้วย 2 แก่งน้ำโขง ทำให้แม่น้ำโขงแยกออกเป็นสองสายหรือสองคอน (ในภาษาถิ่นคอนแปลว่าแก่ง) จึงเป็นที่มาของชื่อ บ้านสองคอน
          หาดสลึง เป็นหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำมูล ตั้งอยู่บ้านสองคอน ตำบลสองคอน อำเภอโพธิ์ไทร ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 115 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2050 (อุบลฯ-ตระการพืชผล-โพธิ์ไทร) ในฤดูแล้ง ประมาณมกราคม-มิถุนายน เมื่อน้ำในแม่น้ำโขงลดระดับลง จะมีหาดทรายที่สวยงาม เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจเป็นอย่างยิ่ง
          จากตำนานเชื่อกันว่า ชื่อหาดสลึงเกิดจากการที่คนมาเล่นน้ำช่วงสงกรานต์นานมาแล้ว ในสมัยที่ใช้เหรียญสลึง 1 สลึงสมัยนั้น มีค่าสามารถซื้อควายได้ 1 ตัว ตามนิสัยของคนไทยบางคนเมื่อมารวมกันมาก มักจะมีการพนันเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่เสมอ ผู้ที่มาเล่นน้ำที่หาดแห่งนี้ ได้ตั้งคำท้าทายความสามารถโดยมีเดิมพันว่า ณ กลางเดือนเมษายน เวลาเที่ยงวัน ถ้าใครสามารถเดินหรือวิ่งบนหาดได้ตลอดแนว (ยาว 860 เมตร) โดยไม่แวะพักระหว่างวิ่ง จะได้รับเงินเดิมพัน 1 สลึง นับตั้งแต่มีการเดิมพันมาไม่เคยมีใครได้รับรางวัลนี้เลย ชาวบ้านจึงขนานนามหาดแห่งนี้ว่า "หาดสลึง"
สามพันโบก

สามพันโบก

          สามพันโบก เป็นแก่งหินที่อยู่ใต้ลำน้ำโขง เนื่องจากในช่วงฤดูน้ำหลากแก่งหินดังกล่าวจะจมอยู่ใต้บาดาล และด้วยแรงน้ำวนกัดเซาะ ทำให้แก่งหินกลายเป็นแอ่งเล็กใหญ่จำนวนมากกว่า 3,000 แอ่ง หรือ 3 พันโบก  โบกหรือแอ่ง หมายถึง บ่อน้ำลึกในแก่งหินใต้ลำน้ำโขง และคำว่า "โบก" เป็นภาษาของลาวที่มักนิยมเรียกกัน และ สามพันโบก กลายเป็นที่เพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืด ในลำน้ำโขงตามธรรมชาติแหล่งใหญ่ที่สุด รักษาระบบนิเวศและการขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ ในลำน้ำโขงให้อยู่ได้อย่างสมดุล
          ในช่วงหน้าแล้ง สามพันโบก จะ โผล่พ้นน้ำให้เห็นเป็นคล้ายภูเขากลางลำน้ำโขง ความสวยงามวิจิตรของหินที่ถูกน้ำเซาะมองเห็นเป็นภาพศิลปะ บางแห่งใหญ่ขนาดเป็นสระว่ายน้ำ บางแอ่งขนาดเล็ก มีรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันออกไป เช่น รูปดาว วงรี และหินที่ถูกน้ำกัดเซาะจนดูคล้ายรูปหัวสุนัขพูเดิล มีความสวยงาม
          เห็นอย่างนี้แล้วรีบไปแกรนด์แคนยอนเมืองไทยด่วน ไม่ต้องเสียตังค์ไปไกลถึงอเมริกา แต่ถ้าจะไปเที่ยวสามพันโบกต้องบอกก่อนว่า ต้องแรงดี รองเท้าดี และอึดพอตัว แต่สิ่ง ที่อยากฝากไว้สำหรับ อบต.ที่มีหน้าที่ดูแลสามพันโบกคือ ไม่อยากเห็นร้านค้า แผงขายของที่อยู่ดี ๆ ก็โผล่ขึ้นมากลางกองหินโดยไม่มีเหตุผล ขายของเล็ก ๆ น้อย ๆ ตอนนี้มีหนึ่ง ต่อไปคงมีสอง สาม สี่ ตามมา เพราะถ้าเราไม่รู้จักรักษา อีกไม่นาน สามพันโบก ก็คงดังแล้วดับ วูบหายไปกับสายลมหนาวอย่างง่ายดาย   


ที่มา:http://travel.kapook.com/view24918.html

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น